วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555



             ระบบหล่อลื่น (Lubricating System)
อุปกรณ์ภายในเครื่องยนต์ ผลิตจากโลหะที่มีคุณภาพสูง แข็งแรงทนทาน แต่เมื่ออุปกรณ์เหล่านั้น ทำงานร่วมประสานกัน เช่นเพลาลูกเบี้ยวกับวาล์ว, บริเวณเพลาข้อเหวี่ยง หรือตามจุดข้อต่อต่างๆ ที่มีการเคลื่อนที่ เสียดสีกัน ย่อมทำให้เกิดการสึกหรอ และความร้อนขึ้น ตรงนี้เอง ที่จำเป็นต้องมีระบบหล่อลื่นที่ดี เพื่อลดการสึกหรอ และยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ ให้ยาวนานขึ้น ตัวเครื่องยนต์ ได้รับการออกแบบให้ ผนังเครื่องยนต์ มีร่อง มีรู เพื่อให้อากาศ และของเหลว ไหลเวียนได้เช่น ร่องอากาศที่เป็นทางเข้าของไอดี (Intake) หรือทางออกของไอเสีย (Exhaust) หรือบริเวณผนังของกระบอกสูบ ที่มีความร้อนสูงจากการเสียดสีกัน ระหว่างลูกสูบและกระบอกสูบ แม้แต่ร่องรู และท่อทางผ่านของน้ำมันเครื่อง เพื่อช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วน ของอุปกรณ์ในเครื่องยนต์
วงจรการทำงานของระบบหล่อลื่น
เครื่องยนต์ ที่ผลิตจากผู้ผลิตแต่ละบริษัท มีเทคโนโลยีแตกต่างกัน แต่โดยมาก จะมีส่วนที่สำคัญคือ เครื่องยนต์ จะมีอ่างน้ำมันเครื่องอยู่ด้านล่าง เป็นที่กับเก็บน้ำมันเครื่อง (Oil) จะมีปั้มน้ำมันเครื่อง (Oil Pump) ตัวกรองน้ำมันเครื่อง (Oil Filter) และหัวดูด รวมทั้งท่อทางน้ำมันต่างๆ ซึ่งทำงานดังนี้






        เมื่อเราสตาร์ทเครื่องยนต์ ตัวปั้มน้ำมันเครื่อง ก็จะทำงาน โดยการดูดน้ำมันที่อยู่บริเวณอ่างน้ำมัน ด้านล่างเครื่องยนต์ ผ่านทางหัวดูดน้ำมัน ผ่านท่อทางน้ำมัน เข้าปั้มแล้วไปสู่ตัวกรอง (บางคนเรียกหม้อกรอง หรือไส้กรอง) น้ำมันเครื่อง ซึ่งเครื่องยนต์บางระบบ จะมีตัวกรองน้ำมันเครื่องดักก่อนจะถึงปั้มจากนั้น น้ำมันจะไหลไปตามท่อทางต่างๆ ไปหล่อเลี้ยงบริเวณที่มีจุดเสียดสี เคลื่อนไหว








แสดงการทำงานของระบบหล่อลื่น
     หน้าที่ของระบบหล่อลื่น                                                                                                                           น้ำมันเครื่องมีหน้าที่การทำงานเพื่อให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพ คือทำหน้าที่ในการลดความฝืด (Anti-Friction) เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ เช่น ลูกสูบ เพลาลูกเบี้ยว เพลาข้อเหวี่ยง และโซ่ราวลิ้น จะเคลื่อนไหว ทำให้ผิวหน้าของโลหะที่สัมผัสกันเกิดการเสียดสี ซึ่งจะเกิดแรงเสียดทานและความร้อน ดังนั้นน้ำมันเครื่อง จะเข้าไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆที่เคลื่อนไหวเหล่านี้เพื่อลดแรงเสียดทานและความร้อน ทำให้ชิ้นส่วนต่างๆเหล่านี้ สึกหรอน้อยและมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น

ทำหน้าที่ในการช่วยระบายความร้อน (Cooling Effect) เมื่อเครื่องยนต์ทำงานจะเกิดความร้อน น้ำหรืออากาศไม่สามารถจะระบายความร้อนได้อย่างเพียงพอ น้ำมันเครื่องก็จะช่วยทำหน้าที่ระบายความร้อนให้กับเครื่องยนต์ เป็นการลดอุณหภูมิของเครื่องยนต์ลง ไม่ให้ร้อนจัดจนเกิดไป

ทำหน้าที่ในการป้องกันการกัดกร่อนและสนิม (Rust-Inhibiting Effect) เมื่อเราต้องจอดรถทิ้งไว้เป็นเวลานานๆความชื้นและน้ำเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เครื่องยนต์ที่เป็นเหล็กเกิดสนิม และเกิดการกัดกร่อนของโลหะ จนโลหะนั้นเป็นตามด น้ำมันหล่อลื่นจะช่วยป้องกันสนิมและการกัดกร่อนได้

ทำหน้าที่ในการป้องกันการรั่วไหลของกำลังอัด (Sealing Effect) ฟิล์มของน้ำมันเครื่องตามผนังกระบอกสูบและร่องแหวน จะทำหน้าที่เป็นซีลช่องว่างระหว่างลูกสูบกับกระบอกสูบ ทำให้กำลังอัดไม่สามารถรั่วไหลได้จึงทำให้เครื่องยนต์มีกำลังอัดสูง การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ก็จะสมบูรณ์

ทำหน้าที่รับแรงกระแทก (Buffer Action) โดยลดแรงกระแทกที่เกิดขึ้นระหว่างเพลากับแบริ่งหรือชิ้นงานอื่นๆ ที่รับแรงกระแทกในลักษณะเดียวกัน เป็นผลให้เสียงดังลดลงและช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ ทำหน้าที่ในการช่วยรักษาความสะอาดของเครื่องยนต์ (Cleaning Effect) เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน จะเกิดสิ่งสกปรกต่างๆขึ้นในเครื่องยนต์ เช่น คราบตะกอนและเขม่าที่เกิดจากการเผาไหม้ น้ำมันหล่อลื่นก็จะเป็นตัวชะล้างสิ่งสกปรกต่างๆเหล่านี้ให้รวมตัวกับน้ำมันหล่อลื่น






1 ความคิดเห็น:

  1. How do I make money from playing games and earning
    These are the three most popular forms of gambling, and are explained in a very https://tricktactoe.com/ concise and concise หารายได้เสริม manner. apr casino The most common forms of gambling worrione.com are:

    ตอบลบ