วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555


ทฤษฏี
ระบบหล่อลื่น

ระบบหล่อลื่นเครื่องยนต์รถจักรยานยนต์ 4 จังหวะและ2 จังหวะ จะมีความต้องการสารหล่อลื่นที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้น การเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่ดีคุณภาพมาใช้กับรถจักรยานยนต์จึงต้องมีการคัดเลือกให้ถูกต้อง เพื่อให้เครื่องยนต์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานเนื่องจาก เครื่องยนต์ประกอบด้วยชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวมากมายหลายชิ้น ถ้าไม่มีการหล่อลื่น ชิ้นส่วนเหล่านี้ก็ชำรุดเสียหายอันเนื่องมาจากความร้อนที่เกิดจากความฝืด ดังนั้นระบบหล่อลื่นจึงสำคัญต่อเครื่องยนต์เป็นอย่างยิ่ง



หน้าที่ของระบบหล่อลื่น
น้ำมันเครื่องมีหน้าที่การทำงานเพื่อให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพ คือ

ทำหน้าที่ในการลดความฝืด (Anti-Friction) เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ เช่น ลูกสูบ เพลาลูกเบี้ยว เพลาข้อเหวี่ยง และโซ่ราวลิ้น จะเคลื่อนไหว ทำให้ผิวหน้าของโลหะที่สัมผัสกันเกิดการเสียดสี ซึ่งจะเกิดแรงเสียดทานและความร้อน ดังนั้นน้ำมันเครื่อง จะเข้าไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆที่เคลื่อนไหวเหล่านี้เพื่อลดแรงเสียดทานและความร้อน ทำให้ชิ้นส่วนต่างๆเหล่านี้ สึกหรอน้อยและมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น

ทำหน้าที่ในการช่วยระบายความร้อน (Cooling Effect) เมื่อเครื่องยนต์ทำงานจะเกิดความร้อน น้ำหรืออากาศไม่สามารถจะระบายความร้อนได้อย่างเพียงพอ น้ำมันเครื่องก็จะช่วยทำหน้าที่ระบายความร้อนให้กับเครื่องยนต์ เป็นการลดอุณหภูมิของเครื่องยนต์ลง ไม่ให้ร้อนจัดจนเกิดไป

ทำหน้าที่ในการป้องกันการกัดกร่อนและสนิม (Rust-Inhibiting Effect) เมื่อเราต้องจอดรถทิ้งไว้เป็นเวลานานๆความชื้นและน้ำเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เครื่องยนต์ที่เป็นเหล็กเกิดสนิม และเกิดการกัดกร่อนของโลหะ จนโลหะนั้นเป็นตามด น้ำมันหล่อลื่นจะช่วยป้องกันสนิมและการกัดกร่อนได้

ทำหน้าที่ในการป้องกันการรั่วไหลของกำลังอัด (Sealing Effect) ฟิล์มของน้ำมันเครื่องตามผนังกระบอกสูบและร่องแหวน จะทำหน้าที่เป็นซีลช่องว่างระหว่างลูกสูบกับกระบอกสูบ ทำให้กำลังอัดไม่สามารถรั่วไหลได้จึงทำให้เครื่องยนต์มีกำลังอัดสูง การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ก็จะสมบูรณ์

ทำหน้าที่รับแรงกระแทก (Buffer Action) โดยลดแรงกระแทกที่เกิดขึ้นระหว่างเพลากับแบริ่งหรือชิ้นงานอื่นๆ ที่รับแรงกระแทกในลักษณะเดียวกัน เป็นผลให้เสียงดังลดลงและช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์

ทำหน้าที่ในการช่วยรักษาความสะอาดของเครื่องยนต์ (Cleaning Effect) เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน จะเกิดสิ่งสกปรกต่างๆขึ้นในเครื่องยนต์ เช่น คราบตะกอนและเขม่าที่เกิดจากการเผาไหม้ น้ำมันหล่อลื่นก็จะเป็นตัวชะล้างสิ่งสกปรกต่างๆเหล่านี้ให้รวมตัวกับน้ำมันหล่อลื่น


ระบบหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์ 4 จังหวะ
   เนื่องจากเครื่องยนต์ 4 จังหวะ มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวมาก และแยกออกจากกันดังเช่นห้องแคร้งค์แยกออกจากห้องเผาไหม้อย่างสิ้นเชิง แต่ห้องแคร้งค์ส่วนหนึ่งจะเป็นห้องเกียร์ ดังนั้นชุดเพลาข้อเหวี่ยงจึงได้รับการหล่อลื่นด้วยน้ำมันหล่อลื่นชนิดเดียวกันกับที่หล่อลื่นเฟืองเกียร์และคลัตช์ ดังนั้นการหล่อลื่นจึงจำเป็นต้องมีปั๊ม การที่น้ำมันหล่อลื่นจะเข้าสู่ปั๊มจะถูกกรองก่นด้วยตะแกรงกรองก้นแคร้งค์ หลังจากที่มีแรงดันออกจากปั๊มแล้ว ก่อนที่จะส่งไปหล่อลื่นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ จะได้รับการกรองอีกครั้งหนึ่งด้วยหม้อกรอง กระบอกสูบและลูกสูบได้รับการหล่อลื่นจากการฉีดน้ำมัน ผ่านการหล่อลื่นของก้านสูบและแบริ่ง ในขณะเดียวกันกลไกบังคับลิ้นที่ฝาสูบ จะได้รับการหล่อลื่นโดยตรงด้วยน้ำมันที่มีแรงดันจากปั๊ม หลังจากให้การหล่อลื่นส่วนต่างๆแล้ว น้ำมันหล่อลื่นจะไหลกลับคืนลงสู่อ่างน้ำมันเครื่อง

อ่างน้ำมันเครื่อง (Sump)
   น้ำมันหล่อลื่นทั้งหมดจะเก็บกักไว้ที่อ่างน้ำมันเครื่อง ซึ่งอยู่ส่วนล่างของห้องแคร้งค์ การทำงาน ปั๊มจะดูดน้ำมันเครื่องจากอ่างผ่านตะแกรงกรองหรือหม้อกรอง จากนั้นน้ำมันที่มีแรงดันจะถูกส่งไปหล่อลื่นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ แล้วไหลกลับสู่อ่างด้วยแรงดึงดูด

ปั๊มน้ำมันเครื่อง (Oil Pump)
   ปั๊มน้ำมันเครื่องถูกขับโดยเพลาข้อเหวี่ยง แล้วส่งน้ำมันที่มีแรงดันไปหล่อลื่นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ ปั๊มน้ำมันเครื่องที่ใช้โดยทั่วไปมี 2 แบบ
  • ปั๊มแบบเฟือง (Gear Pump) โดยการหมุนของเฟือง 2 ตัว ภายในเรือนปั๊ม น้ำมันถูกดูดผ่านทางเข้า แล้วมีแรงดันส่งผ่านไปออกทางออก
  • ปั๊มแบบโรเตอร์ (Trochoid Pump) โดยการหมุนของโรเตอร์ตัวในซึ่งเป็นตัวขับ ทำให้โรเตอร์ตัวนอกหมุนตาม ด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของปริมาตรระหว่างโรเตอร์ทั้งสอง การเปลี่ยนแปลงปริมาตรนี้ เป็นผลให้น้ำมันถูกดูดเข้าแล้วจ่ายออกไป



การทำงานของปั๊มน้ำมันเครื่องแบบโรเตอร์
   ปั๊มโรเตอร์แบบนี้ใช้กับเครื่อง 4 จังหวะมากที่สุด โรเตอร์ทั้งสองหมุนอยู่ภายในเรือนปั๊ม โรเตอร์ตัวในเป็นตัวขับ โดยมีเพลาที่รับการขับมาจากเพลาข้อเหวี่ยง เมื่อโรเตอร์ตัวในหมุนโรเตอร์ตัวนอกจึงหมุนตามไปด้วย ทำให้ระยะห่างระหว่างโรเตอร์ทั้งสองเปลี่ยนแปลง น้ำมันเครื่องจะถูกดูดผ่านเข้ามาทางด้านดูดเมื่อระยะห่างมีมากและถูกกวาดผ่านไปยังด้านตรงข้าม แล้วถูกรีดออกไปทางด้านจ่ายด้วยแรงดันที่สูงขึ้น เมื่อระยะห่างเหลือน้อยลง


ปฏิบัติ
ระบบหล่อลื่น

น้ำมันหล่อลื่น
การตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่น

- ตั้งรถจักยานยนต์ด้วยขาตั้งกลาง



- ถอดฝาปิดช่องเติมน้ำมันหล่อลื่น/ก้านวัดและเช็ดให้แห้งสะอาด
- ประกอบฝาปิดช่องเติมน้ำมันหล่อลื่น/ก้านวัดเข้าไปใหม่แต่ยังไม่ต้องขันเกลียว
- ถอดฝาปิดช่องเติมน้ำมันหล่อลื่น/ก้านวัดและตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นถ้าระดับน้ำมันหล่อลื่นอยู่ต่ำกว่าขีดบอกระดับต่ำสุดบนก้านวัดให้เติมน้ำมันหล่อลื่นให้ได้ระดับ

น้ำมันหล่อลื่นที่แนะนำ:น้ำมันหล่อลื่นฮอนด้า 4T หรือเทียบเท่ามาตรฐานวิศวกรรมยานยนต์ SE , SF หรือ SG
ค่าความหนืด: 10 W -30


- ประกอบฝาปิดช่องเติมน้ำมันหล่อลื่น/ก้านวัดกลับเข้าที่
! คำเตือน
* ถ้าจำเป็นต้องติดเครื่องยนต์ในขณะปฏิบัติงานต้องแน่ใจว่ามีอากาศถ่ายเทได้สะดวกไม่ควรติดเครื่องยนต์ในพื้นที่อับทึบเพราะไอเสียประกอบด้วยคาร์บอนนอนอกไซด์ซึ่งอาจทำให้หมดสติ และถึงแก่ชีวิตได้ติดเครื่องยนต์ในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกหรือพื้นที่ที่มีระบบระบายไอเสีย
- อุ่นเครื่องยนต์
- ดับเครื่องยนต์แล้วเปิดฝาช่องเติมน้ำมันหล่อลื่น/ก้านวัดและโบ้ลท์ถ่ายน้ำมัน
- ถ่ายน้ำมันหล่อลื่นออกจนหมด
! คำเตือน
* น้ำมันหล่อลื่นอาจสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งหนังได้ หากปล่อยให้สัมผัสกับผิวหนังบ่อยครั้งและเป็นระยะเวลานาน ดังนั้นควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำทันทีหลังจากการใช้น้ำมัน และเก็บให้พ้นมือเด็ก
- ตรวจสอบสภาพของแหวนกันรั่วโบ้ลท์ถ่ายน้ำมันว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่ เปลี่ยนใหม่ถ้าจำเป็น
- ประกอบและขันโบ้ลท์ ถ่ายน้ำมันให้แน่น
อัตราการขันแน่น : 24 นิวตัน-เมตร (2.4กก.-ม. ,17 ฟุต-ปอนด์)
- เติมน้ำมันหล่อลื่นให้ได้ระดับ
ความจุน้ำมันหล่อลื่น : 0.7 ลิตร (0.7 US qt,0.6 Imp qt)หลังถ่ายน้ำมันหล่อลื่น0.9 ลิตร(1.0 US qt, 0.8 Imp qt) หลังผ่าเครื่อง
- ประกอบฝาปิดช่องเติมน้ำมันหล่อลื่น/ก้านวัด
- ติดเครื่องยนต์และปล่อยให้เดินเบาประมาณ 2-3 นาที
- ดับเครื่องยนต์และตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นอีกครั้งต้องแน่ใจว่าไม่มีน้ำมันหล่อลื่นรั่วซึม
(ถ้าไม่เข้าใจในการปฏิบัติให้ดูวีดีโอด้านซ้ายมือตามหัวข้อเรื่อง)


ตะแกรงกรองน้ำมันหล่อลื่น


- ถอดฝาครอบเครื่องด้านขวา



- ถอดตะแกรงกรองน้ำมันหล่อลื่นและทำความสะอาด






- ประกอบตะแกรงกรองน้ำมันหล่อลื่นและฝาครอบเครื่องด้านขวากลับเข้าที่
- เติมน้ำมันหล่อลื่นตามที่แนะนำไว้


ตัวกรองน้ำมันหล่อลื่น
การทำความสะอาด

- ถอดฝาครอบเครื่องด้านขวา


- ถอดโบ้ลท์ 3 ตัว และฝาครอบกรองน้ำมันหล่อลื่นและปะเก็น
- ทำความสะอาดฝาครอบกรองน้ำมันหล่อลื่นและด้านในของต้นกำลังขับตัวนอกด้วยผ้าสะอาที่ไม่มีขน
ข้อควรระวัง
  • ไม่ควรปล่อยให้สิ่งสกปรกและฝุ่นละอองผ่านเข้าไปในช่องทางเดินน้ำมันของเพลาข้อเหวี่ยง
  • ไม่ควรใช้ลมเป่าเพื่อทำความสะอาด
- ประกอบปะเก็นอันใหม่เข้าเข้ากับฝาครอบกรองน้ำมันหล่อลื่น
ข้อควรจำ
* ต้องแน่ใจว่าด้านที่มีลายของปะเก็นหันออกเมื่อทำการประกอบ

- ทาน้ำยาล๊อคเกลียวที่เกลียวของโบ้ลท์ยึดฝาครอบกรองน้ำมันหล่อลื่น
- ประกอบและขันโบ้ลท์ให้แน่นตามอัตราการขันแน่นที่กำหนด
อัตราการขันแน่น : 5 นิวตัน- เมตร (0.5 กก.-ม., 3.6 ฟุต-ปอนด์)
- ประกอบฝาครอบเครื่องด้านขวา



ปั๊มน้ำมันหล่อลื่น

การถอด
- ถ่ายน้ำมันหล่อลื่น
- ถอดชิ้นส่วนต่อไปนี้ :
  • ฝาครอบเครื่องด้านขาว



  • ชุดคลัทช์










- ถอดโบ้ลท์ 3 ตัวและชุดปั๊มน้ำมันหล่อลื่น




- ถอดปลอกสลัก



การแยกชิ้นส่วน
- ถอดคลิ๊ปล๊อคและเฟืองขับปั๊มน้ำมันหล่อลื่น

  

- ถอดโบ้ลท์และฝาครอบปั๊มน้ำมันหล่อลื่น



 

(ถ้าไม่เข้าใจในการปฏิบัติให้ดูวีดีโอด้านซ้ายมือตามหัวข้อเรื่อง)






การตรวจสอบ
- ประกอบโรเตอร์ตัวในและโรเตอร์ตัวนอกเข้ากับเรือนปั๊มน้ำมันหล่อลื่นชั่วคราว
- ประกอบแกนปั๊มน้ำมันหล่อลื่น



- วัดระยะด้านบนระหว่างโรเตอร์ตัวนอกกับเรือนปั๊มค่าจำกัดการซ่อม : 0.20 มม.( 0.008 นิ้ว)



- วัดระยะห่างตัวเรือนระหว่างโรเตอร์ตัวนอกกับเรือนปั๊มค่าจำกัดการซ่อม : 0.26 มม. ( 0.010 นิ้ว)



- วัดระยะห่างด้านข้างโดยใช้เหล็กฉากและฟิลเลอร์เกจค่าจำกัดการซ่อม : 0.15 มม. ( 0.006 นิ้ว)



(ถ้าไม่เข้าใจในการปฏิบัติให้ดูวีดีโอด้านซ้ายมือตามหัวข้อเรื่อง)




การประกอบชิ้นส่วน
- ประกอบโรเตอร์ตัวในและตัวนอกเข้ากับเรือนปั๊มน้ำมันหล่อลื่น



- เติมน้ำมันหล่อลื่นปริมาณ 0.5-1 ซี.ซี.ลงในปั๊มน้ำมันเครื่อง
- ประกอบฝาครอบปั๊มน้ำมันหล่อลื่นบนเรือนปั๊มน้ำมันหล่อลื่น

- ประกอบและขันโบ้ลท์ให้แน่นตามอัตราการขันแน่นที่กำหนด
อัตราการขันแน่น: 5 นิวตัน-เมตร ( 0.5 กก. - ม.,3.6 ฟุต-ปอนด์)
- ประกอบแกนปั๊มน้ำมันหล่อลื่น เฟืองขับปั๊มน้ำมันเครื่องและสลักล๊อค
- ประกอบแกนปั๊มน้ำมันหล่อลื่น เข้ากับเรือนปั๊มน้ำมันหล่อลื่นโดยให้ด้านเรียบของแกนปั๊มโรเตอร์ตัวในอยู่ในแนวเดียวกัน


- ประกอบคลิ๊ปล๊อคเข้ากับแกนปั๊มน้ำมันหล่อลื่น




การประกอบเครื่อง
ประกอบปลอกสลัก
- ประกอบชุดปั๊มน้ำมันหล่อลื่นเข้ากับเรือนเครื่องยนต์
- ประกอบและขันโบ้ลท์ 3 ตัวให้แน่น


- ทำความสะอาดตะแกรงกรองน้ำมันหล่อลื่น ประกอบชิ้นส่วนต่อไปนี้





  • ชุดคลัทช์



  • ฝาครอบเครื่องด้านขวา
- หลังการประกอบเติมน้ำมันหล่อลื่นเข้าในเรือนเครื่องยนต์และตรวจเช็คการรั่วซึม



เฟืองขับปั๊มน้ำมัน
การถอด
- ถอดชุดปั๊มน้ำมันหล่อลื่น
- ถอดเฟืองขับปั๊มและสลัก
- ตรวจสอบความเสียหายของเฟืองขับปั๊มน้ำมัน
- เปลี่ยนใหม่ถ้าจำเป็น
การประกอบ
- ประกอบสลักลงในเพลาข้อเหวี่ยง
- ประกอบเฟืองขับปั๊มน้ำมันโดยจัดให้ร่องกับสลักตรงกัน
- ประกอบชุดปั๊มน้ำมันหล่อลื่น

  (ถ้าไม่เข้าใจในการปฏิบัติให้ดูวีดีโอด้านซ้ายมือตามหัวข้อเรื่อง)



             ระบบหล่อลื่น (Lubricating System)
อุปกรณ์ภายในเครื่องยนต์ ผลิตจากโลหะที่มีคุณภาพสูง แข็งแรงทนทาน แต่เมื่ออุปกรณ์เหล่านั้น ทำงานร่วมประสานกัน เช่นเพลาลูกเบี้ยวกับวาล์ว, บริเวณเพลาข้อเหวี่ยง หรือตามจุดข้อต่อต่างๆ ที่มีการเคลื่อนที่ เสียดสีกัน ย่อมทำให้เกิดการสึกหรอ และความร้อนขึ้น ตรงนี้เอง ที่จำเป็นต้องมีระบบหล่อลื่นที่ดี เพื่อลดการสึกหรอ และยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ ให้ยาวนานขึ้น ตัวเครื่องยนต์ ได้รับการออกแบบให้ ผนังเครื่องยนต์ มีร่อง มีรู เพื่อให้อากาศ และของเหลว ไหลเวียนได้เช่น ร่องอากาศที่เป็นทางเข้าของไอดี (Intake) หรือทางออกของไอเสีย (Exhaust) หรือบริเวณผนังของกระบอกสูบ ที่มีความร้อนสูงจากการเสียดสีกัน ระหว่างลูกสูบและกระบอกสูบ แม้แต่ร่องรู และท่อทางผ่านของน้ำมันเครื่อง เพื่อช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วน ของอุปกรณ์ในเครื่องยนต์
วงจรการทำงานของระบบหล่อลื่น
เครื่องยนต์ ที่ผลิตจากผู้ผลิตแต่ละบริษัท มีเทคโนโลยีแตกต่างกัน แต่โดยมาก จะมีส่วนที่สำคัญคือ เครื่องยนต์ จะมีอ่างน้ำมันเครื่องอยู่ด้านล่าง เป็นที่กับเก็บน้ำมันเครื่อง (Oil) จะมีปั้มน้ำมันเครื่อง (Oil Pump) ตัวกรองน้ำมันเครื่อง (Oil Filter) และหัวดูด รวมทั้งท่อทางน้ำมันต่างๆ ซึ่งทำงานดังนี้






        เมื่อเราสตาร์ทเครื่องยนต์ ตัวปั้มน้ำมันเครื่อง ก็จะทำงาน โดยการดูดน้ำมันที่อยู่บริเวณอ่างน้ำมัน ด้านล่างเครื่องยนต์ ผ่านทางหัวดูดน้ำมัน ผ่านท่อทางน้ำมัน เข้าปั้มแล้วไปสู่ตัวกรอง (บางคนเรียกหม้อกรอง หรือไส้กรอง) น้ำมันเครื่อง ซึ่งเครื่องยนต์บางระบบ จะมีตัวกรองน้ำมันเครื่องดักก่อนจะถึงปั้มจากนั้น น้ำมันจะไหลไปตามท่อทางต่างๆ ไปหล่อเลี้ยงบริเวณที่มีจุดเสียดสี เคลื่อนไหว








แสดงการทำงานของระบบหล่อลื่น
     หน้าที่ของระบบหล่อลื่น                                                                                                                           น้ำมันเครื่องมีหน้าที่การทำงานเพื่อให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพ คือทำหน้าที่ในการลดความฝืด (Anti-Friction) เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ เช่น ลูกสูบ เพลาลูกเบี้ยว เพลาข้อเหวี่ยง และโซ่ราวลิ้น จะเคลื่อนไหว ทำให้ผิวหน้าของโลหะที่สัมผัสกันเกิดการเสียดสี ซึ่งจะเกิดแรงเสียดทานและความร้อน ดังนั้นน้ำมันเครื่อง จะเข้าไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆที่เคลื่อนไหวเหล่านี้เพื่อลดแรงเสียดทานและความร้อน ทำให้ชิ้นส่วนต่างๆเหล่านี้ สึกหรอน้อยและมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น

ทำหน้าที่ในการช่วยระบายความร้อน (Cooling Effect) เมื่อเครื่องยนต์ทำงานจะเกิดความร้อน น้ำหรืออากาศไม่สามารถจะระบายความร้อนได้อย่างเพียงพอ น้ำมันเครื่องก็จะช่วยทำหน้าที่ระบายความร้อนให้กับเครื่องยนต์ เป็นการลดอุณหภูมิของเครื่องยนต์ลง ไม่ให้ร้อนจัดจนเกิดไป

ทำหน้าที่ในการป้องกันการกัดกร่อนและสนิม (Rust-Inhibiting Effect) เมื่อเราต้องจอดรถทิ้งไว้เป็นเวลานานๆความชื้นและน้ำเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เครื่องยนต์ที่เป็นเหล็กเกิดสนิม และเกิดการกัดกร่อนของโลหะ จนโลหะนั้นเป็นตามด น้ำมันหล่อลื่นจะช่วยป้องกันสนิมและการกัดกร่อนได้

ทำหน้าที่ในการป้องกันการรั่วไหลของกำลังอัด (Sealing Effect) ฟิล์มของน้ำมันเครื่องตามผนังกระบอกสูบและร่องแหวน จะทำหน้าที่เป็นซีลช่องว่างระหว่างลูกสูบกับกระบอกสูบ ทำให้กำลังอัดไม่สามารถรั่วไหลได้จึงทำให้เครื่องยนต์มีกำลังอัดสูง การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ก็จะสมบูรณ์

ทำหน้าที่รับแรงกระแทก (Buffer Action) โดยลดแรงกระแทกที่เกิดขึ้นระหว่างเพลากับแบริ่งหรือชิ้นงานอื่นๆ ที่รับแรงกระแทกในลักษณะเดียวกัน เป็นผลให้เสียงดังลดลงและช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ ทำหน้าที่ในการช่วยรักษาความสะอาดของเครื่องยนต์ (Cleaning Effect) เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน จะเกิดสิ่งสกปรกต่างๆขึ้นในเครื่องยนต์ เช่น คราบตะกอนและเขม่าที่เกิดจากการเผาไหม้ น้ำมันหล่อลื่นก็จะเป็นตัวชะล้างสิ่งสกปรกต่างๆเหล่านี้ให้รวมตัวกับน้ำมันหล่อลื่น