วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555


ทฤษฏี
ระบบหล่อลื่น

ระบบหล่อลื่นเครื่องยนต์รถจักรยานยนต์ 4 จังหวะและ2 จังหวะ จะมีความต้องการสารหล่อลื่นที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้น การเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่ดีคุณภาพมาใช้กับรถจักรยานยนต์จึงต้องมีการคัดเลือกให้ถูกต้อง เพื่อให้เครื่องยนต์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานเนื่องจาก เครื่องยนต์ประกอบด้วยชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวมากมายหลายชิ้น ถ้าไม่มีการหล่อลื่น ชิ้นส่วนเหล่านี้ก็ชำรุดเสียหายอันเนื่องมาจากความร้อนที่เกิดจากความฝืด ดังนั้นระบบหล่อลื่นจึงสำคัญต่อเครื่องยนต์เป็นอย่างยิ่ง



หน้าที่ของระบบหล่อลื่น
น้ำมันเครื่องมีหน้าที่การทำงานเพื่อให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพ คือ

ทำหน้าที่ในการลดความฝืด (Anti-Friction) เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ เช่น ลูกสูบ เพลาลูกเบี้ยว เพลาข้อเหวี่ยง และโซ่ราวลิ้น จะเคลื่อนไหว ทำให้ผิวหน้าของโลหะที่สัมผัสกันเกิดการเสียดสี ซึ่งจะเกิดแรงเสียดทานและความร้อน ดังนั้นน้ำมันเครื่อง จะเข้าไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆที่เคลื่อนไหวเหล่านี้เพื่อลดแรงเสียดทานและความร้อน ทำให้ชิ้นส่วนต่างๆเหล่านี้ สึกหรอน้อยและมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น

ทำหน้าที่ในการช่วยระบายความร้อน (Cooling Effect) เมื่อเครื่องยนต์ทำงานจะเกิดความร้อน น้ำหรืออากาศไม่สามารถจะระบายความร้อนได้อย่างเพียงพอ น้ำมันเครื่องก็จะช่วยทำหน้าที่ระบายความร้อนให้กับเครื่องยนต์ เป็นการลดอุณหภูมิของเครื่องยนต์ลง ไม่ให้ร้อนจัดจนเกิดไป

ทำหน้าที่ในการป้องกันการกัดกร่อนและสนิม (Rust-Inhibiting Effect) เมื่อเราต้องจอดรถทิ้งไว้เป็นเวลานานๆความชื้นและน้ำเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เครื่องยนต์ที่เป็นเหล็กเกิดสนิม และเกิดการกัดกร่อนของโลหะ จนโลหะนั้นเป็นตามด น้ำมันหล่อลื่นจะช่วยป้องกันสนิมและการกัดกร่อนได้

ทำหน้าที่ในการป้องกันการรั่วไหลของกำลังอัด (Sealing Effect) ฟิล์มของน้ำมันเครื่องตามผนังกระบอกสูบและร่องแหวน จะทำหน้าที่เป็นซีลช่องว่างระหว่างลูกสูบกับกระบอกสูบ ทำให้กำลังอัดไม่สามารถรั่วไหลได้จึงทำให้เครื่องยนต์มีกำลังอัดสูง การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ก็จะสมบูรณ์

ทำหน้าที่รับแรงกระแทก (Buffer Action) โดยลดแรงกระแทกที่เกิดขึ้นระหว่างเพลากับแบริ่งหรือชิ้นงานอื่นๆ ที่รับแรงกระแทกในลักษณะเดียวกัน เป็นผลให้เสียงดังลดลงและช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์

ทำหน้าที่ในการช่วยรักษาความสะอาดของเครื่องยนต์ (Cleaning Effect) เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน จะเกิดสิ่งสกปรกต่างๆขึ้นในเครื่องยนต์ เช่น คราบตะกอนและเขม่าที่เกิดจากการเผาไหม้ น้ำมันหล่อลื่นก็จะเป็นตัวชะล้างสิ่งสกปรกต่างๆเหล่านี้ให้รวมตัวกับน้ำมันหล่อลื่น


ระบบหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์ 4 จังหวะ
   เนื่องจากเครื่องยนต์ 4 จังหวะ มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวมาก และแยกออกจากกันดังเช่นห้องแคร้งค์แยกออกจากห้องเผาไหม้อย่างสิ้นเชิง แต่ห้องแคร้งค์ส่วนหนึ่งจะเป็นห้องเกียร์ ดังนั้นชุดเพลาข้อเหวี่ยงจึงได้รับการหล่อลื่นด้วยน้ำมันหล่อลื่นชนิดเดียวกันกับที่หล่อลื่นเฟืองเกียร์และคลัตช์ ดังนั้นการหล่อลื่นจึงจำเป็นต้องมีปั๊ม การที่น้ำมันหล่อลื่นจะเข้าสู่ปั๊มจะถูกกรองก่นด้วยตะแกรงกรองก้นแคร้งค์ หลังจากที่มีแรงดันออกจากปั๊มแล้ว ก่อนที่จะส่งไปหล่อลื่นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ จะได้รับการกรองอีกครั้งหนึ่งด้วยหม้อกรอง กระบอกสูบและลูกสูบได้รับการหล่อลื่นจากการฉีดน้ำมัน ผ่านการหล่อลื่นของก้านสูบและแบริ่ง ในขณะเดียวกันกลไกบังคับลิ้นที่ฝาสูบ จะได้รับการหล่อลื่นโดยตรงด้วยน้ำมันที่มีแรงดันจากปั๊ม หลังจากให้การหล่อลื่นส่วนต่างๆแล้ว น้ำมันหล่อลื่นจะไหลกลับคืนลงสู่อ่างน้ำมันเครื่อง

อ่างน้ำมันเครื่อง (Sump)
   น้ำมันหล่อลื่นทั้งหมดจะเก็บกักไว้ที่อ่างน้ำมันเครื่อง ซึ่งอยู่ส่วนล่างของห้องแคร้งค์ การทำงาน ปั๊มจะดูดน้ำมันเครื่องจากอ่างผ่านตะแกรงกรองหรือหม้อกรอง จากนั้นน้ำมันที่มีแรงดันจะถูกส่งไปหล่อลื่นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ แล้วไหลกลับสู่อ่างด้วยแรงดึงดูด

ปั๊มน้ำมันเครื่อง (Oil Pump)
   ปั๊มน้ำมันเครื่องถูกขับโดยเพลาข้อเหวี่ยง แล้วส่งน้ำมันที่มีแรงดันไปหล่อลื่นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ ปั๊มน้ำมันเครื่องที่ใช้โดยทั่วไปมี 2 แบบ
  • ปั๊มแบบเฟือง (Gear Pump) โดยการหมุนของเฟือง 2 ตัว ภายในเรือนปั๊ม น้ำมันถูกดูดผ่านทางเข้า แล้วมีแรงดันส่งผ่านไปออกทางออก
  • ปั๊มแบบโรเตอร์ (Trochoid Pump) โดยการหมุนของโรเตอร์ตัวในซึ่งเป็นตัวขับ ทำให้โรเตอร์ตัวนอกหมุนตาม ด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของปริมาตรระหว่างโรเตอร์ทั้งสอง การเปลี่ยนแปลงปริมาตรนี้ เป็นผลให้น้ำมันถูกดูดเข้าแล้วจ่ายออกไป



การทำงานของปั๊มน้ำมันเครื่องแบบโรเตอร์
   ปั๊มโรเตอร์แบบนี้ใช้กับเครื่อง 4 จังหวะมากที่สุด โรเตอร์ทั้งสองหมุนอยู่ภายในเรือนปั๊ม โรเตอร์ตัวในเป็นตัวขับ โดยมีเพลาที่รับการขับมาจากเพลาข้อเหวี่ยง เมื่อโรเตอร์ตัวในหมุนโรเตอร์ตัวนอกจึงหมุนตามไปด้วย ทำให้ระยะห่างระหว่างโรเตอร์ทั้งสองเปลี่ยนแปลง น้ำมันเครื่องจะถูกดูดผ่านเข้ามาทางด้านดูดเมื่อระยะห่างมีมากและถูกกวาดผ่านไปยังด้านตรงข้าม แล้วถูกรีดออกไปทางด้านจ่ายด้วยแรงดันที่สูงขึ้น เมื่อระยะห่างเหลือน้อยลง


ปฏิบัติ
ระบบหล่อลื่น

น้ำมันหล่อลื่น
การตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่น

- ตั้งรถจักยานยนต์ด้วยขาตั้งกลาง



- ถอดฝาปิดช่องเติมน้ำมันหล่อลื่น/ก้านวัดและเช็ดให้แห้งสะอาด
- ประกอบฝาปิดช่องเติมน้ำมันหล่อลื่น/ก้านวัดเข้าไปใหม่แต่ยังไม่ต้องขันเกลียว
- ถอดฝาปิดช่องเติมน้ำมันหล่อลื่น/ก้านวัดและตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นถ้าระดับน้ำมันหล่อลื่นอยู่ต่ำกว่าขีดบอกระดับต่ำสุดบนก้านวัดให้เติมน้ำมันหล่อลื่นให้ได้ระดับ

น้ำมันหล่อลื่นที่แนะนำ:น้ำมันหล่อลื่นฮอนด้า 4T หรือเทียบเท่ามาตรฐานวิศวกรรมยานยนต์ SE , SF หรือ SG
ค่าความหนืด: 10 W -30


- ประกอบฝาปิดช่องเติมน้ำมันหล่อลื่น/ก้านวัดกลับเข้าที่
! คำเตือน
* ถ้าจำเป็นต้องติดเครื่องยนต์ในขณะปฏิบัติงานต้องแน่ใจว่ามีอากาศถ่ายเทได้สะดวกไม่ควรติดเครื่องยนต์ในพื้นที่อับทึบเพราะไอเสียประกอบด้วยคาร์บอนนอนอกไซด์ซึ่งอาจทำให้หมดสติ และถึงแก่ชีวิตได้ติดเครื่องยนต์ในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกหรือพื้นที่ที่มีระบบระบายไอเสีย
- อุ่นเครื่องยนต์
- ดับเครื่องยนต์แล้วเปิดฝาช่องเติมน้ำมันหล่อลื่น/ก้านวัดและโบ้ลท์ถ่ายน้ำมัน
- ถ่ายน้ำมันหล่อลื่นออกจนหมด
! คำเตือน
* น้ำมันหล่อลื่นอาจสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งหนังได้ หากปล่อยให้สัมผัสกับผิวหนังบ่อยครั้งและเป็นระยะเวลานาน ดังนั้นควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำทันทีหลังจากการใช้น้ำมัน และเก็บให้พ้นมือเด็ก
- ตรวจสอบสภาพของแหวนกันรั่วโบ้ลท์ถ่ายน้ำมันว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่ เปลี่ยนใหม่ถ้าจำเป็น
- ประกอบและขันโบ้ลท์ ถ่ายน้ำมันให้แน่น
อัตราการขันแน่น : 24 นิวตัน-เมตร (2.4กก.-ม. ,17 ฟุต-ปอนด์)
- เติมน้ำมันหล่อลื่นให้ได้ระดับ
ความจุน้ำมันหล่อลื่น : 0.7 ลิตร (0.7 US qt,0.6 Imp qt)หลังถ่ายน้ำมันหล่อลื่น0.9 ลิตร(1.0 US qt, 0.8 Imp qt) หลังผ่าเครื่อง
- ประกอบฝาปิดช่องเติมน้ำมันหล่อลื่น/ก้านวัด
- ติดเครื่องยนต์และปล่อยให้เดินเบาประมาณ 2-3 นาที
- ดับเครื่องยนต์และตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นอีกครั้งต้องแน่ใจว่าไม่มีน้ำมันหล่อลื่นรั่วซึม
(ถ้าไม่เข้าใจในการปฏิบัติให้ดูวีดีโอด้านซ้ายมือตามหัวข้อเรื่อง)


ตะแกรงกรองน้ำมันหล่อลื่น


- ถอดฝาครอบเครื่องด้านขวา



- ถอดตะแกรงกรองน้ำมันหล่อลื่นและทำความสะอาด






- ประกอบตะแกรงกรองน้ำมันหล่อลื่นและฝาครอบเครื่องด้านขวากลับเข้าที่
- เติมน้ำมันหล่อลื่นตามที่แนะนำไว้


ตัวกรองน้ำมันหล่อลื่น
การทำความสะอาด

- ถอดฝาครอบเครื่องด้านขวา


- ถอดโบ้ลท์ 3 ตัว และฝาครอบกรองน้ำมันหล่อลื่นและปะเก็น
- ทำความสะอาดฝาครอบกรองน้ำมันหล่อลื่นและด้านในของต้นกำลังขับตัวนอกด้วยผ้าสะอาที่ไม่มีขน
ข้อควรระวัง
  • ไม่ควรปล่อยให้สิ่งสกปรกและฝุ่นละอองผ่านเข้าไปในช่องทางเดินน้ำมันของเพลาข้อเหวี่ยง
  • ไม่ควรใช้ลมเป่าเพื่อทำความสะอาด
- ประกอบปะเก็นอันใหม่เข้าเข้ากับฝาครอบกรองน้ำมันหล่อลื่น
ข้อควรจำ
* ต้องแน่ใจว่าด้านที่มีลายของปะเก็นหันออกเมื่อทำการประกอบ

- ทาน้ำยาล๊อคเกลียวที่เกลียวของโบ้ลท์ยึดฝาครอบกรองน้ำมันหล่อลื่น
- ประกอบและขันโบ้ลท์ให้แน่นตามอัตราการขันแน่นที่กำหนด
อัตราการขันแน่น : 5 นิวตัน- เมตร (0.5 กก.-ม., 3.6 ฟุต-ปอนด์)
- ประกอบฝาครอบเครื่องด้านขวา



ปั๊มน้ำมันหล่อลื่น

การถอด
- ถ่ายน้ำมันหล่อลื่น
- ถอดชิ้นส่วนต่อไปนี้ :
  • ฝาครอบเครื่องด้านขาว



  • ชุดคลัทช์










- ถอดโบ้ลท์ 3 ตัวและชุดปั๊มน้ำมันหล่อลื่น




- ถอดปลอกสลัก



การแยกชิ้นส่วน
- ถอดคลิ๊ปล๊อคและเฟืองขับปั๊มน้ำมันหล่อลื่น

  

- ถอดโบ้ลท์และฝาครอบปั๊มน้ำมันหล่อลื่น



 

(ถ้าไม่เข้าใจในการปฏิบัติให้ดูวีดีโอด้านซ้ายมือตามหัวข้อเรื่อง)






การตรวจสอบ
- ประกอบโรเตอร์ตัวในและโรเตอร์ตัวนอกเข้ากับเรือนปั๊มน้ำมันหล่อลื่นชั่วคราว
- ประกอบแกนปั๊มน้ำมันหล่อลื่น



- วัดระยะด้านบนระหว่างโรเตอร์ตัวนอกกับเรือนปั๊มค่าจำกัดการซ่อม : 0.20 มม.( 0.008 นิ้ว)



- วัดระยะห่างตัวเรือนระหว่างโรเตอร์ตัวนอกกับเรือนปั๊มค่าจำกัดการซ่อม : 0.26 มม. ( 0.010 นิ้ว)



- วัดระยะห่างด้านข้างโดยใช้เหล็กฉากและฟิลเลอร์เกจค่าจำกัดการซ่อม : 0.15 มม. ( 0.006 นิ้ว)



(ถ้าไม่เข้าใจในการปฏิบัติให้ดูวีดีโอด้านซ้ายมือตามหัวข้อเรื่อง)




การประกอบชิ้นส่วน
- ประกอบโรเตอร์ตัวในและตัวนอกเข้ากับเรือนปั๊มน้ำมันหล่อลื่น



- เติมน้ำมันหล่อลื่นปริมาณ 0.5-1 ซี.ซี.ลงในปั๊มน้ำมันเครื่อง
- ประกอบฝาครอบปั๊มน้ำมันหล่อลื่นบนเรือนปั๊มน้ำมันหล่อลื่น

- ประกอบและขันโบ้ลท์ให้แน่นตามอัตราการขันแน่นที่กำหนด
อัตราการขันแน่น: 5 นิวตัน-เมตร ( 0.5 กก. - ม.,3.6 ฟุต-ปอนด์)
- ประกอบแกนปั๊มน้ำมันหล่อลื่น เฟืองขับปั๊มน้ำมันเครื่องและสลักล๊อค
- ประกอบแกนปั๊มน้ำมันหล่อลื่น เข้ากับเรือนปั๊มน้ำมันหล่อลื่นโดยให้ด้านเรียบของแกนปั๊มโรเตอร์ตัวในอยู่ในแนวเดียวกัน


- ประกอบคลิ๊ปล๊อคเข้ากับแกนปั๊มน้ำมันหล่อลื่น




การประกอบเครื่อง
ประกอบปลอกสลัก
- ประกอบชุดปั๊มน้ำมันหล่อลื่นเข้ากับเรือนเครื่องยนต์
- ประกอบและขันโบ้ลท์ 3 ตัวให้แน่น


- ทำความสะอาดตะแกรงกรองน้ำมันหล่อลื่น ประกอบชิ้นส่วนต่อไปนี้





  • ชุดคลัทช์



  • ฝาครอบเครื่องด้านขวา
- หลังการประกอบเติมน้ำมันหล่อลื่นเข้าในเรือนเครื่องยนต์และตรวจเช็คการรั่วซึม



เฟืองขับปั๊มน้ำมัน
การถอด
- ถอดชุดปั๊มน้ำมันหล่อลื่น
- ถอดเฟืองขับปั๊มและสลัก
- ตรวจสอบความเสียหายของเฟืองขับปั๊มน้ำมัน
- เปลี่ยนใหม่ถ้าจำเป็น
การประกอบ
- ประกอบสลักลงในเพลาข้อเหวี่ยง
- ประกอบเฟืองขับปั๊มน้ำมันโดยจัดให้ร่องกับสลักตรงกัน
- ประกอบชุดปั๊มน้ำมันหล่อลื่น

  (ถ้าไม่เข้าใจในการปฏิบัติให้ดูวีดีโอด้านซ้ายมือตามหัวข้อเรื่อง)

1 ความคิดเห็น: